Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/986
Title: | พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการทหาร สังกัดกองพลทหารช่าง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี |
Other Titles: | Political participation behavior of the Royal Thai Army Officers in Engineer Division, Muang District, Ratchaburi Province |
Authors: | รสลิน ศิริยะพันธุ์ ฑิฆัมพร ค่ายหนองสวง, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล ฐปนรรต พรหมอินทร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ทหาร -- กิจกรรมทางการเมือง |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของช้าราชการทหาร สังกัดกองพลทหารช่าง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการทหาร สังกัดกองพลทหารช่าง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารชั้นประทวน และ พลทหารกองประจำการ สังกัดกองพลทหารช่าง จำนวน 341 นาย เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการทหารสังกัดกองพลทหารช่าง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี คือ มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยให้ความสนใจติดตามข่าวสารทางการเมือง และการเลึอกตั้งในระดับปานกลาง และมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการเป็นสมาชิกและสนับสนุนกลุ่ม องค์กรทางการเมือง และการให้คำวิพากษ์วิจารณ์ต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองในระดับน้อย (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ (2.1) ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการให้ความสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ ชั้นยศ จำนวนปีที่รับราชการ ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยด้านสิทธิ หน้าที่และกิจกรรมทางการเมือง วัฒนธรรมองค์กรทหารด้านกฎระเบียบ วินัยทหาร และระบบอาวุโส (2.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการเลือกตั้งได้แก่ปัจจัยด้านชั้นยศ ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยด้านสิทธิ และกิจกรรมทางการเมือง วัฒนธรรมองค์กรทหารด้านระบบอาวุโส (2.3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการเป็นสมาชิกและการสนับสนุนกลุ่ม องค์กรทางการเมืองได้แก่ปัจจัยด้านอายุ การศึกษา ชั้นยศ จำนวนปีที่รับราชการ ความรู้ความเข้าใจใน ระบอบประชาธิปไตยด้านสิทธิ หน้าที่ และกิจกรรมทางการเมือง วัฒนธรรมองค์กรทหารด้านกฎระเบียบ วินัยทหาร (2.4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการให้คำวิพากษ์วิจารณ์ ต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองได้แก่ปัจจัยด้านอายุ ชั้นยศ จำนวนปีที่รับราชการ ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยด้านหน้าที่ และกิจกรรมทางการเมืองวัฒนธรรมองค์กรทหารด้านระบบอาวุโส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/986 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib118906.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License