กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9888
ชื่อเรื่อง: | การจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Local tax collection of Sub-district administration organizations in Muang Ratchaburi District, Ratchaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุขุมาลย์ ชำนิจ อำพร ฝอยทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การจัดเก็บภาษี--ไทย--ราชบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--ราชบุรี การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีและ (2) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บ รายได้ ได้แก่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนการคลัง เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ จัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองราชบุรีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 68 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บรายได้ มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 6 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากเมื่อพิจารณาตาม รายด้านพบว่า ด้านโครงสร้างภาษีด้านกระบวนการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ด้านบุคลากร ด้านสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์และด้านการตรวจสอบติดตาม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ส่วนด้านกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ อยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง และ (2) เห็นควรให้ปรับปรุงในแต่ละด้านดังนี้ด้านโครงสร้างภาษี รัฐบาลควรปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้เป็นระบบ เพื่อให้สามารถจัดเก็บได้ถูกต้องและเป็นธรรม ไม่มีความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ รัฐบาลควรเพิ่มมาตรการทางภาษีเกี่ยวกับบทลงโทษ สำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงภาษีให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง ด้านกระบวนการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ควรมีการจัดทำตารางการปฏิบัติงานแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ด้านบุคลากร ควรเพิ่มกรอบอัตรากำลังในส่วนบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บภาษีให้เพียงพอต่อการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีด้าน สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ ควรให้การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ และด้านการตรวจสอบติดตาม ควรมีการสรุปปัญหาในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นทุกปี แล้วนำข้อสรุปดังกล่าวมาปรับปรุงและแก้ไขในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานในปีถัดไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9888 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
137343.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License