กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9906
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ : กรณีศึกษาบ้านไม้สะเป่ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community participation in the management of conflicts over natural resources : a case study Ban Mai Sa Pae, Pang Moo Sub-district, Mueang District, Mae Hong Sorn Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมปฤณ นิยมไทย
จารุลักษณ์ ผูกจีน, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารความขัดแย้ง--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความ ขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติของบ้านไม้สะเป่ หมู่ที่ 9 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยกรธรรมชาติของ บ้านไม้สะเป่ หมู่ที่ 9 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (3) ปัจจัยความสำเร็จของการมีส่วน ร่วมในการจัดการความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติของบ้านไม้สะเป่ หมู่ที่ 9 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อพิพาทระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐในเรื่อง ปัญหาพื้นที่ อาศัยของชุมชนทับซ้อนกับพื้นที่ป่าที่ประกาศเป็นเขตป่าสงวนและเขตอุทยาน จึงมีการตั้งคณะกรรมการ ของหมู่บ้านไม้สะเป่เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนน้องลื่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน โดยมี การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน จัดประชุมสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหา ที่ดิน เก็บข้อมูลของครัวเรือนที่จำเป็น ข้อมูลที่ทำกีนที่อยู่อาศัย เพื่อรัดทำเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ แก้ไขปัญหา และสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา (2) อุปสรรคด้านกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกัน ระหว่างบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญกบกฎหมายป่าไม้ ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบัญญัติ ตำบล ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ที่มีอย่างจำกัด สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเก็บ ข้อมูล และความเข้าใจการมีส่วนร่วมในการรัดการทรัพยากรธรรมชาติและสี่งแวดล้อมเพื่อนำไปส่การอยู่ ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน (3) ปัจจัยความสำเร็จมาจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านไม้สะเป่ องค์กรปกครองส่วน น้องลื่น และภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมกันปรึกษาหารือ หาแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสี่งแวดล้อมโดยการกำหนด กฎ ระเบียบ กติกา ขึ้นมาเพื่อให้คนในชุมชนถือ ปฏิบัติร่วมกัน และองค์กรปกครองส่วนห้องลื่นมีบทบาทสำคัญในการช่วยเป็นตัวขับเคลื่อน สนับสนุนให้ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมาชาติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9906
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146042.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons