กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9911
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะผู้นำของกลุ่มผู้นำทางการเมืองของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พ.ศ. 2554 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors contributing to political leadership of political in Nakhon Pakkred municipality, Nonthaburi Province for flood prevention and Mitigation in 2011 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสนีย์ คำสุข จุฑารัตน์ บางเขน, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาวะผู้นำทางการเมือง น้ำท่วม--การป้องกัน การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น ภาวะผู้นำทางการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยในการก่อเกิดภาวะผู้นำของกลุ่มผู้นำทาง การเมือง เทศบาลนครปากเกร็ด (2) ภาวะผู้นำของกลุ่มผู้นำทางการเมืองเทศบาลนครปากเกร็ด ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหานํ้าท่วมใหญ่ พ.ศ. 2554 (3) ปัญหาและอุปสรรค ต่อภาวะผู้นำของกลุ่มผู้นำทาง การเมืองเทศบาลนครปากเกร็ด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหานํ้าท่วมใหญ่ พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยในการก่อเกิดภาวะผู้นำของกลุ่มผู้นำทางการเมือง ดังนี้ ด้านคุณลกษณะ เดแก่ เบนคนพนททาเหรูจกพนทเดเบนอย่างด เดรบการเลอกตง 5-6สมยมวสยทศน กว้างไกล มีความรู้ มีสัมพันธไมตรี กับคนทั่วไป กล้าตัดสินใจ เสียสละ ด้านพฤติกรรม ได้แก่ การสร้าง ความเข้าใจโดยการพูดคุย การมีส่วนร่วม จัดให้มีการประชุมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ด้าน บทบาทภาวะผู้นำ ได้แก่ การมอบนโยบาย วางแผน มอบหมายงาน เป็นแบบอย่างของผู้นำ สร้างระบบการ ทำงาน และกำหนดวิสัยทัศน์ (2) ภาวะผู้นำของกลุ่มผู้นำทางการเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหานํ้า ท่วม พ.ศ.2554 ดังนี้ ภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ คือ เป็นคนที่เกิดและเติบโตที่ปากเกร็ด ได้รับการเลือกตั้ง จากประชาชนหลายสมัย มีประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้นำ อปท. กว่า 20 ปี มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มี ลัมพันธไมตรีกับคนทั่วไป กล้าตัดสินใจ ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม ได้แก่ มีการพูดคุยและให้ประชาชนมี ส่วนร่วม จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ได้แก่ มอบหมายงานให้ ทำ มีการสั่งการ และติดตามผล สำหรับภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ กระตุ้นการใช้ปัญญาในการ แก้ไขปัญหา ความเชื่อมั่นในตัวผู้บริหาร แข้งปัญหาเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม การชักจูงใจว่าภารกิจจะ สำเร็จ และแสดงพฤติกรรมให้ผู้ตามเห็นเพื่อจูงใจให้ปฏิบัติตาม (3) ปัญหาและอุปสรรคต่อภาวะผู้นำ คือ ระเบียบทางราชการในการเบิกจ่ายงบประมาณในการป้องกันนํ้าท่วม พื้นที่นํ้าท่วมไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ ทั้งหมด การช่วยเหลือไม่ครอบคลุมและล่าช้า การแทรกแซงทางการเมือง และการประชาสัมพันธ์ไม่ ครอบคลุมทุกพื้นที่ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9911 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
151049.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License