กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9915
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารทางการเมืองของผู้นำประชาชนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี : ศึกษากรณีช่องทางการสื่อสารและสารทางการเมือง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political communication of people leaders to local administrative organization in Thung Yang Daeng District, Pattani Province : a case study of channels and messages of political communication |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสนีย์ คำสุข ณัฐวุฒิ บุญปก, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้นำชุมชน--ไทย--ปัตตานี การสื่อสารทางการเมือง--ไทย--ปัตตานี การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ช่องทางการส่อสารทางการเมืองของผู้นำประชาชน ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี และ (2) สารทางการเมืองของผู้นำ ประชาชนส่งไปยังไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ผลการวิจัยพบว่า (1) ช่องทางการสื่อสารทางการเมืองที่ผู้นำประชาชนใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร ทางการเมืองโดยเลือกใช้ช่องทางการไปพบปะกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง เพราะสะดวกและรู้ผล เรื่องที่สื่อสารได้ทันทีแต่หากให้ผู้นำประชาชนเลือกช่องทางที่คิดว่าดีที่สุดส่วนใหญ่เลือกใช้ช่องทางการสื่อสาร ทางการเมืองโดยการใช้โทรศัพท์เพราะสะดวก รวดเร็ว โดยช่วงเวลาที่ใช้ในการสื่อสารจะเลือกสื่อสารโดยไปพบ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเสือกเวลาก่อนเรี่มดำเนินกิจกรรม ส่วนปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารผู้ใท้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่พบว่าไม่มีปัญหาอุปสรรค เพราะช่องทางการสื่อสาร ที่เสือกไม่ว่าจะเป็นการไปพบปะด้วยตนเองและการโทรศัพท์ดีอยู่แล้ว (2) สารทางการเมืองที่ผู้นำประชาชน ส่งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสื่อสารพูดคุยในเรื่องความเดือดร้อน ความต้องการของประชาชน ในส่วนของด้านงบประมาณในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีการพูดคุยสื่อสารในประเด็นงบประมาณ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยได้เข้าร่วมประชุมแผนประจำปีและวางแผนประจำปีขององค์การบริหารส่วน ตำบล แต่องค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ได้สื่อสารเพราะว่าไกลตัว ด้านเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ พบว่า สี๋งที่สำคัญที่จะช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้คือ ความสามัคคีกันของทุกคนในพื้นที่ เพื่อช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการพูดคุยสื่อสารในเรื่อง ของไฟฟ้าดับ ประปา และถนนชำรุด ในส่วนของงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ได้พูดคุยสื่อสารในเรื่องการส่งเสริม กลุ่มอาชีพ กลุ่มแม่บ้าน ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยมีการแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบโดยผู้ใหญ่บ้านรับผิดชอบในบริเวณหมู่บ้าน และในต้านศิลปวัฒธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญา ท้องถิ่น พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีการพูดคุยสื่อสารในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทั้งหมด นับถือศาสนาอิสลามจึงได้พูดคุยสื่อสารในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา การกวนอาซูลอ งานเมาลิด งานฮารีรายอ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9915 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
132844.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License