กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/991
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและบทบาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และประธานาธิบดีปัก จุง ฮี ในการพัฒนาภาคประชาชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The comparative study of political concepts and roles between field Marshal Sarit Thanarat and President Park Chung-Hee in civil society development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ ดำรงค์ชัย ชนาภัทรภณ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รุ่งพงษ์ ชัยนาม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ นักการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแนวคิดและบทบาททางการเมืองการปกครองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และประธานาธิบดีปัก จุง ฮี ในการพัฒนาภาคประชาชน การวิจัยนี้ใช้แนวทางวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการพรรณนาการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ศึกษาจากเอกสารมาวิเคราะห์ และใช้แนวคิดทางรัฐศาสตร์มาประกอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สามปัจจัยที่มีผลต่อแนวคิดและบทบาททางการเมืองการปกครองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และประธานาธิบดีปัก จุง ฮี ในการพัฒนาภาคประชาชน ปัจจัยแรกเป็นปัจจัยส่วนบุคคลคือ ภูมิหลังทางครอบครัว บุคลิกภาพ การศึกษาและการกล่อมเกลาทางการเมือง ปัจจัยที่สองคือ สถานการณ์ทางการเมือง ฐานอำนาจทางการเมืองและการยอมรับของประชาชน ส่วนปัจจัยสุดท้ายคือ ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา และความช่วยเหลือของธนาคารโลก จากผลการวิเคราะห์แนวคิดและบทบาทของผู้นำ ทั้งสองในการพฒันาภาคประชาชนสามารถแยกเป็นประเด็นที่คล้ายคลึงและแตกต่าง ประเด็นที่คล้ายคลึงกันคือระบอบการปกครอง ทั้งสองประเทศมีระบอบการปกครองประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้ว ปกครองด้วยอำนาจเผด็จการโดยมีรัฐธรรมนูญรองรับความชอบธรรมในการปกครอง ส่วนความแตกต่างคือการพัฒนาภาคประชาชน สำหรับประเทศไทยการเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ พัฒนาอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้้เน้นการพัฒนา อุตสาหกรรมและพัฒนาชนบทควบคู่กัน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิดและพัฒนาชนบท ตนเองแต่ยงัอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งผลจากการปกครองที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขาดการพัฒนาทางการเมือง ประชาชนไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองจึงนำมาซึ่งการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/991 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib150211.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License