กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9941
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing behavior of dietary supplement products of students in the Faculty of Liberal Arts, Thammasat University (Rangsit Campus)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิตพร วิริยกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของ นักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2) ระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสม การตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลของ นักศึกษากับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากร คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งไม่ทราบจํานวนประชากรที่แน่นอน กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคํานวณของ ดับบลิว จีคอร์เกรน ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ได้จํานวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-21 ปี ศึกษา ชั้นปีที่ 2 ในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ และมีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทบํารุงผิวพรรณ มีค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อเดือนต่ํากว่า 1,000 บาท สถานที่ซื้อคือ ร้านค้าสะดวกซื้อ เหตุผลสําคัญในการซื้อเพราะคุณภาพของสินค้า โดยมีเพื่อนเป็นผู้ ร่วมในการตัดสินใจซื้อ (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสําคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีสินค้าที่มีคุณประโยชน์ อยู่ใน ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการจัดจําหน่าย และ (3) ปัจจัยส่วน บุคคล ด้านเพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา สาขาวิชา และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักศึกษา เกือบทุกด้าน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9941
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150954.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons