กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9943
ชื่อเรื่อง: แนวความคิดทางสังคมการเมืองที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ : กรณีศึกษาเรื่อง "เปาบุ้นจิ้น" เวอร์ชั่นที่นำมาฉายทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2538-พ.ศ.2559
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Social and political concept of television drama : a case study of the Pao Bun Jin which Broadcasted by Thai Television Channel 3 between 1995 - 2016 B.C.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
ชูศักดิ์ จันทร์รัตน์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 3
ละครโทรทัศน์--ไทย
สังคม--แง่การเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวความคิดทางสังคมการเมืองที่ปรากฎใน ละครโทรทัศน์ เรื่อง เปาบุ้นจิ้น (2) เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แนวความคิดทางสังคมการเมืองในละคร โทรทัศน์ เรื่อง เปาบุ้นจิ้น ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวความคิดทางสังคมการเมืองในละครโทรทัศน์เรื่อง เปาบุ้นจี้น คือ 1) ถ่ายทอดแนวความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมในรูปแบบการยึดหลักความถูกต้องตามศีลธรรมบน พื้นฐานของคุณธรรม และจริยธรรม ความสมเหตุสมผลของกฎหมาย ความเที่ยงธรรม และความเป็นธรรม ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิของพลเมืองทั้งหลายโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา ความพิการ ความยากดีมีจนและชนชั้นวรรณะในสังคม 2) เปาบุ้นจิ้น ยังยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ 6 ประการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารการปกครองบ้านเมือง คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความถูกต้องโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน หลัก สำนึกรับผิดชอบ หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (2) เกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้แนวความคิด พบว่า 1) แนวความคิดทางสังคมการเมืองที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ เรื่อง เปาบุ้นจิ้น สามารถนำไป ประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับปฏิรูปการเมืองไทยและระบบราชการของ ไทยในปัจจุบันไต้ 2) การ ปฏิรูปการเมืองที่แท้จริงควรมุ่งปฏิรูปที่โครงสร้างการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจทางการเมืองและโครงสร้าง ทางสังคมควบคู่กันไปกับการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบันที่ยังมีข้อบกพร่องและเกิด ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น อย่างกว้างขวาง 3) การขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของ ประชาชน และการขาดประสิทธิภาพและความสามารถของระบบการเมืองในการแก้ไขปัญหาของสังคม ตลอดทั้งปัญหาของระบบการเมืองไทยที่มีการทุจริต คอรัปชั่นและประพฤติมิชอบในวงราชการและ การเมืองเป็นปัญหาหลักเรื้อรังที่สะสมมานาน ไม่อาจแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จ การปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปทางการเมืองด้วยการเสริมสร้างกระบวนการปลูกฝังระบบคุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นมาตรการสำคัญเร่งด่วนที่จะช่วยแก้ไขสภาพปัญหานี้ให้ลดน้อยลงหรือหมดไปในที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9943
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154872.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons