Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9953
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น
Other Titles: Factors affecting the Good Governance implementation of saving and credit cooperatives in Khonkaen Province
Authors: ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุคนธ์ทิพย์ โพธิ์หล้า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น--การบริหาร
สหกรณ์--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการนําหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับ ระดับการนําหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น จําแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนําหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของสหกรณ์ ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะกรรมการดําเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์ ในจังหวัดขอนแก่น 9 สหกรณ์ จํานวน 120 รายได้กลุ่มตัวอย่าง 92 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยวิธีถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการนําหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของสหกรณ์ออมทรัพย์ ในจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า หลักนิติธรรมมี การนําไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ หลักความโปร่งใส หลักคุณธรรม และหลัก ความรับผิดชอบ ตามลําดับ (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ระดับการนําหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการ ดําเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการนําหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัด ขอนแก่น พบว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ 3 ตัวแปร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ปัจจัยด้านกลยุทธ์ ปัจจัยด้านรูปแบบการบริหาร และปัจจัยด้านค่านิยมร่วม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9953
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151523.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons