กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9965
ชื่อเรื่อง: | แนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ.) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Concept of the establishment of the Provincial Anti-Corruption Commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ พงษ์พันธ์ โตสกุลไกร, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--ไทย--การป้องกัน การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ.) วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทราบถึงแนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการ ป.ป.จ. (2) ศึกษาผลการดำเนินงานของ คณะกรรมการป.ป.จ. ในการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในส่วนภูมิภาค และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของคณะกรรมการ ป.ป.จ. และแนวทางในการแก้ไข ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดในการจัดตังคณะกรรมการ ป.ป.จ. มาจากการทีรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มี (1.1) การกระจายอำนาจด้านการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตไปในจังหวัด (1.2) เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมและ ช่วยแกไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม แต่เมื่อได้ดำเนินการ ไปแล้วผลปรากฏว่าการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป.ป.จ. ได้เกิดปัญหาขึ้นในการปฏิบัติงาน งานในพื้นที่ เนื่องจาก (2.1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.จ. ไม่ได้เป็นการกระจายอำนาจด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ หากแต่เป็นการแบ่งอำนาจด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปให้ คณะกรรมการ ป.ป.จ. ทำหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของตนเอง ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (2.2) การเกิดปัญหาบริหารจัดการทำให้ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป.ป.จ. ไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว่ได้ สำหรับแนวทาง การแก้ไขปัญหาจะต้องมี (3.1) การกระจายอำนาจด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยใน บางกรณีที่ไม่มีความซับซ้อนต้องมอบให้หน่วยงานหรือองค์กรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในพื้นที่ได้มีอิสระในการดำเนินงานได้เอง (3.2) ควรมีกระบวนการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในพื้นที่ (3.3) ควรมีการพัฒนาและนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาปรับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวก สำหรับภาคประชาชนในการช่วยตรวจสอบและร่วมแกไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่ต่างๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9965 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
157807.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License