กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9967
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้บริการสถาบันการเงินชุมชนโพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์ จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Customer behavior of using service of the Ponoisrisawat Community of Financial Institution, Roi-Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ มูลลีขิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สถาบันการเงิน--ไทย--ร้อยเอ็ด
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้มาใช้บริการสถาบัน การเงินชุมชนโพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์ (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการใช้ บริการสถาบันการเงินชุมชนโพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์ (3) พฤติกรรมการใช้บริการสถาบันการเงินชุมชน โพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์ (4) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการสถาบันการเงินชุมชนโพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีประชากร คือลูกค้าที่มาใช้บริการสถาบัน การเงินชุมชนโพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์ จำนวน 629 คน กำหนดขนาดของตัวอย่างโดยใช้ ่ สูตรทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ 245 คน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และเปรียบเทียบพฤติกรรมใช้การทดสอบค่าที และ การทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส อายุตั้งแต่ 41-50 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปี ที่ 6 อาชีพเกษตรกร รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (2) ความสำคัญปัจจัยส่วนประสมการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ทุกด้านซึ่งได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริม การตลาด ด้านบุคคล ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากเช่นกัน (3) พฤติกรรมการ ใช้บริการสถาบันการเงินชุมชนโพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์พบว่า มีความถี่ในการใช้บริการต่อเดือน ต่ำกว่า 4 ครั้ง ส่วนเหตุผลที่ใช้บริการเนื่องจาก อยู่ใกล้บ้านสะดวกบุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้ บริการคือ ครอบครัว และได้รับข้อมูลการให้บริการจากผู้นำท้องถิ่น (4) เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม การใช้บริการของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตาม เพศ สถานภาพ อายุ และอาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกัน แต่ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9967
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141021.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons