Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9978
Title: การสื่อสารทางการเมืองกรณีการหาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเขต 3 จังหวัดสกลนคร วันที่ 21 มิถุนายน 2552
Other Titles: Political communication a case canvass the Re-Elect member of the house of Representatives District 3, Sakon Nakhon Province, on 21 June 2009
Authors: ยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาคินี ผองขำ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารทางการเมือง--ไทย
การเลือกตั้ง
การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การวางแผนการส่อสารในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของทีมงานปฏิบํติการวางแผนหาเสียง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 จังหวัดสกลนคร (2) การสื่อสารในการหาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 ชังหวัดสกลนคร (3) ปัจจัยความสำเร็จในการส่อสารหาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัคร รับเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 จังหวัดสกลนคร (4) ปัญหาและอุปสรรคในการส่อสารหาเสียงเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 จังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยพบว่า (1) การวางแผนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของทีมงาน วางแผน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1) จัดหาและเตรียมข้อมูลในพื้นที่เฉพาะให้กับผู้สมัคร 2) จัดเตรียม กำหนดการรณรงค์หาเสียงให้ภับผู้สมัคร เช่น วัน/เวลาสถานที่ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมฟังการปราศรัยหาเสียง ฯลฯ 3) ชัดเตรียมลือโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยกำหนดแผนงานการประชาสัมพันธ์ การหารูปแบบของส่อที่จะใช้ฯลฯ และ 4) การติดตามผล เช่น ผลสะท้อนกลับในระหว่างการหาเสียงของผู้สมัครและฝ่ายคู่แข่ง ความนิยมในตัว ผู้สมัครและอื่นๆ ฯลฯ (2) การสื่อสารหาเสียงหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง รูปแบบการนำเสนอส่อที่ใช้พบว่า มี 2 สาร กล่าวคือ 1) สารแนะนำตัวผู้สมัคร และ 2) สารให้ความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้งโดยผสมผสานกัน ทั้งนี้คำนึงถึงหลักการวางแผนร่วมด้วยคือ 1. นโยบายของพรรค 2. ปัจจัยที่เข้าไปเสริมนโยบาย และ 3. ตัวบุคคล เน้นเนื้อหาทางประเพณี วัฒนธรรม (3) ปัจจัยความสำเร็จในการส่อสารหาเสียงของผู้สมัคร คือ บุคลิก ภาษา โดยส่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจประเด็นที่นำเสนอ การเน้นเสียงจังหวะเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงเบาที่สร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง (4) ปัญหา และอุปสรรคในการสื่อสารหาเสียงเลือกตั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขระยะเวลา และ กรอบของกฎหมายการเลือกตั้งเป็นหลัก ด้านกระแสบุคคลและกระแสสื่อที่โจมตีเป็นอุปสรรคร่วมในการนำเสนอเนื้อหา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9978
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125272.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons