กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9978
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารทางการเมืองกรณีการหาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเขต 3 จังหวัดสกลนคร วันที่ 21 มิถุนายน 2552
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political communication a case canvass the Re-Elect member of the house of Representatives District 3, Sakon Nakhon Province, on 21 June 2009
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธพร อิสรชัย
ภาคินี ผองขำ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารทางการเมือง--ไทย
การเลือกตั้ง
การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี.
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การวางแผนการส่อสารในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของทีมงานปฏิบํติการวางแผนหาเสียง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 จังหวัดสกลนคร (2) การสื่อสารในการหาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 ชังหวัดสกลนคร (3) ปัจจัยความสำเร็จในการส่อสารหาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัคร รับเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 จังหวัดสกลนคร (4) ปัญหาและอุปสรรคในการส่อสารหาเสียงเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย เขต 3 จังหวัดสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ 1 และ 2 เป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ 1 ผู้สมัครรับเลือกตั้งและที่ปรึกษาของผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกล้วงคำตอบอย่างละเอียด กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ทีมงานวางแผน หาเสียง จำนวน 20 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มย่อย(Focus Group Discussion) โดยเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างกว้างขวางและกลุ่มตัวอย่างที่ 3 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เขต 3 ประกอบด้วย 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างแดนดิน บ้านม่วง เจริญศิลป์ คำตากล้า และส่องดาว จำนวน 400 คน ใช้หลักเกณฑ์ ของทาโรยามาเน่ในการสุ่มตัวอย่างโดยมีค่าความคลาดเคลื่อน ±0.5 ภายใต้ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่า (1) การวางแผนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของทีมงาน วางแผน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1) จัดหาและเตรียมข้อมูลในพื้นที่เฉพาะให้กับผู้สมัคร 2) จัดเตรียม กำหนดการรณรงค์หาเสียงให้ภับผู้สมัคร เช่น วัน/เวลาสถานที่ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมฟังการปราศรัยหาเสียง ฯลฯ 3) ชัดเตรียมลือโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยกำหนดแผนงานการประชาสัมพันธ์ การหารูปแบบของส่อที่จะใช้ฯลฯ และ 4) การติดตามผล เช่น ผลสะท้อนกลับในระหว่างการหาเสียงของผู้สมัครและฝ่ายคู่แข่ง ความนิยมในตัว ผู้สมัครและอื่นๆ ฯลฯ (2) การสื่อสารหาเสียงหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง รูปแบบการนำเสนอส่อที่ใช้พบว่า มี 2 สาร กล่าวคือ 1) สารแนะนำตัวผู้สมัคร และ 2) สารให้ความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้งโดยผสมผสานกัน ทั้งนี้คำนึงถึงหลักการวางแผนร่วมด้วยคือ 1. นโยบายของพรรค 2. ปัจจัยที่เข้าไปเสริมนโยบาย และ 3. ตัวบุคคล เน้นเนื้อหาทางประเพณี วัฒนธรรม (3) ปัจจัยความสำเร็จในการส่อสารหาเสียงของผู้สมัคร คือ บุคลิก ภาษา โดยส่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจประเด็นที่นำเสนอ การเน้นเสียงจังหวะเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงเบาที่สร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง (4) ปัญหา และอุปสรรคในการสื่อสารหาเสียงเลือกตั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขระยะเวลา และ กรอบของกฎหมายการเลือกตั้งเป็นหลัก ด้านกระแสบุคคลและกระแสสื่อที่โจมตีเป็นอุปสรรคร่วมในการนำเสนอเนื้อหา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9978
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125272.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons