กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10049
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a mathematics process skills test for Mathayoms Suksa III students in schools under the Office of Phuket Educational Service Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
จริยาวดี ชูวงศ์ศิริกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สิริรัตน์ วิภาสศิลป์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต (2) ตรวจสอบคุณภาพ แบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 600 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดย หาความตรงเชิงเนื้อหา ความยาก อำนาจ จำแนก และความเที่ยง ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 1 ฉบับ ประกอบด้วยข้อสอบ 36 ข้อ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 32 ข้อ วัดทักษะกระบวนการทาง คณิตศาสตร์ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา 8 ข้อ ด้านความสามารถในการให้เหตุผล 8 ข้อ ด้าน ความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ 8 ข้อ และด้าน ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ 8 ข้อ และตอนที่ 2 เป็นข้อสอบแบบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ วัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ (2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความ สอดคล้องอยู่ระหว่าง .80 ถึง 1.00 ค่าความยากของข้อสอบตอนที่ 1 อยู่ระหว่าง .48 ถึง .59 และตอน ที่ 2 อยู่ระหว่าง .52 ถึง .63 ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบตอนที่ 1 อยู่ระหว่าง .47 ถึง .77 และตอนที่ 2 อยู่ระหว่าง .56 ถึง .73 ค่าความเที่ยงของแบบวัด ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา เท่ากับ .99 ด้าน ความสามารถในการให้เหตุผลเท่ากับ .98 ด้านความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทาง คณิตศาสตร์ และการนำเสนอ เท่ากับ .99 ด้านความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทาง คณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ เท่ากับ .98 และด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เท่ากับ 99 ค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับ เท่ากับ 97
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10049
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons