กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10057
ชื่อเรื่อง: | ผลการให้การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมที่มีผลต่อการรับรู้ความสามารถของตน ของบุคคลที่สูญเสียแขน ขา สถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of group conseling by rational emotive behavior therapy consideration on enhancement of self-efficacy perception of the leg or hand amputated persons in Phra Pradaeng Home for the Disabled, Samut Prakan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิธิพัฒน์ เมฆขจร ตามพงษ์ วงษ์จันทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ลัดดาวรรณ ณ ระนอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ สถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพพระประแดง--ไทย--สมุทรปราการ การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ความสามารถในตนเอง การรับรู้ตนเอง |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตน ในบุคคลที่ สูญเสียแขนขา ก่อนและหลังการให้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม และ (2) เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนในบุคคลที่สูญเสียแขนขา ภายหลังการทดลองระหว่าง กลุ่มที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม กับกลุ่มที่ได้รับ ข้อสนเทศ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คนเริ่มต้นการทดลองจากการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดการ รับรู้ความสามารถของตน ก่อนการให้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผลอารมณ์ และพฤติกรรม ขั้น ดำเนินการใช้เวลาในการทำกิจกรรมกลุ่ม 10 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาทีเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้น เก็บข้อมูลหลังการทดลองจากแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนชุดเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเป็นแบบวัดที่ได้หาค่าความเที่ยงแบบอัลฟ่า เท่ากับ .92 และ โปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผลอารมณ์ และพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนจากแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตน ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคคลที่สูญเสียแขนขา มีการรับรู้ความสามารถของตนสูงขึ้นภายหลัง การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม และ (2) มีการรับรู้ ความสามารถของตนสูงขึ้นกว่าบุคคลที่สูญเสียแขนขากลุ่มที่ได้รับข้อสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่สูญเสียแขนขา ณ สถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10057 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License