กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10072
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการรู้สารสนเทศสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of information literacy promotion model for Rajabhat University Libraries
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุติมา สัจจานันท์
ไปรมา เฮียงราช, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
สุจิน บุตรดีสุวรรณ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ศึกษาระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ศึกษาสภาพการส่งเริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ (3) ศึกมาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ (4) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการรู้สารสนเทศสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทขาลัยราชภัฏมีทักษะการรู้สารสนเทศโดยรวมและรายมาตรฐานอยู่ในระดับต่ำ โดยมาตรฐานที่มีระดับต่ำสุด คือ มาตรฐานที่ 2 ค้านการเข้าถึงสารสนเทศ (2) มหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนใหญ่ส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกมาในรูปแบบการจัดการเรียนรสอนการรู้สารสนเทศเป็นรายวิชาเลือกในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปโดยคณะ และการจัดบริการส่งเสริมการรู้สารสนเทศโดยห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรู้สารสนเทศที่สำคัญสามอันดับแรกเป็นปัจจัยภายใน คือ หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนโยบายของมหาวิทยาลัย และห้องสมุด และ (4) รูปแบบการส่งเสริมการรู้สารสนเทสแบบหุ้นส่วนดวามร่วมมือ สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ หรือ ซีพีเอ็ม-ไอแอลพี ที่พัฒนาขึ้นมีนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เน้นการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับคณะ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างบรรณารักษ์กับอาจารย์ และระหว่างห้องสมุดกับเครือข่ายสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเป็นหลังขับเคลื่อนการพัฒนา ผลการประเมินรูปแบบโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม และผลการนำไปทคลองใช้โดยเลือกใช้กลยุทธ์เน้นการทำงานแบบหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างบรรณารักษ์และอาจารย์ และการพัฒนากิจกรรมทักษะการสืบค้นสารสนเทศ พบว่ามีความเหมาะสม นักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และผลการประเมินหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10072
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168840.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons