กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10078
ชื่อเรื่อง: | ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชางานเทคนิคของห้องสมุด เรื่องการบำรุงรักษาหนังสือ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Computer-based learning packages vis network on book maintenance in technical services of library for undergraduate students in library and information science program of Pibulsongkram Rajabhat University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทิพย์เกสร บุญอำไพ พรรณทิพา มันตะสูตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา มาลี ล้ำสกุล กำพล ดำรงค์วงศ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน--วิจัย หนังสือ--การซ่อม |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชา งานเทคนิคของห้องสมุด เรื่อง การบำรุงรักษาหนังสือให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนจากชุดการเรียน และ(3) ศึกษาระดับ ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนวิชา งานเทคนิคของห้องสมุด และ วิชาการใช้ห้องสมุดยุคใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 29 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดการเรียน ด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชา งานเทคนิคของห้องสมุด เรื่อง การบำรุงรักษาหนังสือ จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 11 หนังสือและการบำรุงรักษาหนังสือ หน่วยที่ 12 การซ่อมเล็กน้อย และหน่วยที่ 13 การซ่อมใหญ่ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบคู่ขนาน E (3) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ โดยใช้ E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 คือ 80.75/82.00, 80.13/81.50 และ80.62/82.00 ตามลำดับ (2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย อยู่ในระดับเหมาะสมมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10078 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License