กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10083
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการให้เหตุผลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: e-Learning center packages for mathematic learning area on reasoning for Matayom suksa IV students in Rachaburi Educational Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์
โสภิต กาญจนวงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปรีชา เนาว์เย็นผล
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
อิเล็กทรอนิกส์--แบบเรียนสำเร็จรูป
การสอนด้วยสื่อ--ไทย--ราชบุรี
เทคโนโลยีทางการศึกษา--แบบเรียนสำเร็จรูป
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ราชบุรี
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการสอน แบบศูนย์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการให้เหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80 / 80 (2) ศึกษาความก้าวหน้า ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบ ศูนย์การเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายธรรมจันทร์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 47 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน จำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 การให้เหตุผลแบบอุปนัย หน่วยที่ 2 การให้เหตุผลแบบนิรนัย และหน่วยที่ 3 การสร้างแผนภาพอธิบายการให้เหตุผล (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ การสอนแบบศูนย์การเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E,/E,การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 81.18/78.33, 81.74/80.27, 82.08/80.83 ตามลำดับเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่เรียนด้วย ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียนมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10083
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons