กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10103
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์การเรียนชุมชน ในเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Performance factors affecting management success of community learning centers in Pathum Thani Educational Service Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา ภัสสรสิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัตรา เทียบเทียม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ศูนย์การเรียนชุมชน--การบริหาร
ศูนย์การเรียนชุมชน--ไทย--ปทุมธานี
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชน ในเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี (2) ศึกษาความสำเร็จในการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนดังกล่าว และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์การเรียนชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ศูนย์การเรียนชุมชน ในเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี 76 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครู-อาจารย์ ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนชุมชน ในเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี จำนวน 135 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การทดสอบสมมุติฐาน ใช้ระดับความมีนัยสำคัญ.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า (ก) กลยุทธ์ อันประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ และด้านกระบวนการ จัดการเรียนรู้ มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (ข) คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน อันประกอบด้วย ด้านความรู้ ของบุคลากร ด้านความสามารถของบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพ และ ด้านสื่อและวิธีการ มีการดำเนินการ อยู่ในระดับมาก และ (ค) ทรัพยากร อันประกอบด้วย งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และบุคลากร มีอยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับความสำเร็จในการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการทำงาน ร่วมกับชุมชน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และ (3) ปัจจัยการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชน ทุก ปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการบริหารศูนย์การเรียนชุมชน ส่วนการพยากรณ์ความสำเร็จ ในการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนโดยรวม (Y,) โดยตัวแปรปัจจัยการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชน ทั้ง 8 ตัวแปร พบว่ามี 5 ตัวแปร ที่สามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จในการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนคิด เป็นร้อยละ 83.4 โดยมีความสำคัญตามลำดับ คือ ตัวแปรด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ (X1) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ (X2) ด้านการบริหารจัดการ (X1,) ด้านความสามารถของบุคลากรตามมาตรฐาน วิชาชีพ (X) และ ด้านจำนวนและประเภทของบุคลากร (X)) โดยมีสมการคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Zy/ww =. 370Zx,+.238Zxp+.201Zx/,+.149 Zxy+.113ZX,
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10103
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons