กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10126
ชื่อเรื่อง: สภาพ ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับผู้เรียนสมาธิสั้นในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The condition, problems and guidelines for provision of non-formal and informal education for attention deficit hyper activities disorder (ADHD) learners in learning centers under Nonthaburi Provincial Office of Non-formal and Informal Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
ศิริชัย ศุภมิตร, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย--วิทยานิพนธ์
เด็กสมาธิสั้น--การศึกษานอกระบบโรงเรียน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับผู้เรียนสมาธิสั้น ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี และ (2) ศึกษาแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับผู้เรียนที่มีสมาธิสั้นในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ครูกศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 86 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน และ (2) ผู้เชี่ยวชาญสำหรับสนทนากลุ่ม เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษานอกระบบและด้านการสอนผู้เรียนสมาธิสั้น จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับผู้เรียนสมาธิสั้น และประเด็นการสนทนากลุ่ม เครื่องมือมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.78 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการจัดการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการจัดการศึกษาพบว่า มีปัญหาในด้านวิธีการสอนยังใช้วิธีการสอนแบบปกติ ที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนสมาธิสั้น และ (2) แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับผู้เรียนที่มีสมาธิสั้น พบว่ามีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ (2.1) ด้านสภาพแวดล้อม ควรสร้างกฎระเบียบให้ปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ (2.2) ด้านการจัดการเรียนการสอนควรเพิ่มวิธีการเสริมแรงทางบวก (2.3) ด้านการมอบหมายและการให้การบ้าน ควรอธิบายอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนสับสน (24) ด้านวิธีการเรียน ครูควรใช้วิธีการสอนแบบตัวต่อตัว หรือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ไม่ควรเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ และ (2.5) ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ ควรฝึกให้ผู้เรียนทบทวนและจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10126
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165019.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons