กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10145
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงโดยใช้เทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความรู้สึกเชิงจำนวน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of mathematics learning activities related to real life using KWDL technique in the topic of Weighting, Quantifying and Measuring Word Problems on mathematics learning achievement and number sense of Pratom Suksa III students in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วินิจ เทือกทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิชญา สุทธิสุข, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน--ไทย--พระนครศรีอยุธยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงโดยใช้เทคนิค KWDL กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังกล่าวของนักเรียนในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวน เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง โดยใช้เทคนิค KVMDL กับความรู้สึกเชิงจำนวนดังกล่าวของนักเรียนในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนลุมพลีชนูปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนห้องละ 30 และ 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด โดยการจัดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงโดยใช้เทคนิค KWDL (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบปกติ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด และ (4) แบบทดสอบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ one-way AMANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงโดยใช้เทคนิค KWDL สูงกว่าของนักเรียนในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความรู้สึกเชิงจำนวน เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงโดยใช้เทคนิค KWDL สูงกว่าของนักเรียนในกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10145
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165480.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons