Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10155
Title: | แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 |
Other Titles: | Guidelines for school development toward a learning organization for educational management in the 21st century of schools under the Secondary Education Service Area Office 7 |
Authors: | ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ สุริยาคาร ยันอินทร์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กุลชลี จงเจริญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การพัฒนาการศึกษา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสถนศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 การวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามวัดสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีความเที่ยงเท่ากับ .99 และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่อร่างแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบความเห็นและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงไป คือ ด้านการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยี ด้านระบบบุคคล ด้านความรู้ และด้านองค์การ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาควรได้รับการฝึกอบรมให้มีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ ควรส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม ควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสถานศึกษาควรปรับโครงสร้างองค์การให้เป็นแบบราบ ควรมีนโยบายในการส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรอย่างชัดเจน มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนกลยุทธ์ร่วมกัน และควรเสริมพลังอำนาจให้บุคลากรสามารปฏิบัติหน้าที่ได้ตรงกับบทบาท |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10155 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
167086.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License