กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10273
ชื่อเรื่อง: | ผลการฝึกเพื่อพัฒนาความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและผลจากการกระทำของตนของนักเรียนวัยรุ่นที่มีจิตลักษณะแตกต่างกันด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of training by a guidance activity package for developing the belief in controlling causes and effects of one's behaviors of adolescent students with different psychological characteristics |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เจียรนัย ทรงชัยกุล จินตนา บัวเผียน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา โกศล มีคุณ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ วัยรุ่น--พฤติกรรม ความเชื่อมั่นในตนเอง การแนะแนว--เครื่องมือ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการพัฒนาความเชื่อในการควบคุมสาเหตุ และผลจากการกระทำของตน ของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวกับไม่ได้รับ การฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว (2) ศึกษาผลของการฝึกเพื่อพัฒนาความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและผล จากการกระทำของตน ของนักเรียนวัยรุ่นที่มีจิตลักษณะแตกต่างกันด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว และ (3) หา ประเภทของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนวัยรุ่นชายและหญิง อายุระหว่าง 13-15 ปี จากโรงเรียนบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2550 จำนวน 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็น (1) แบบวัดจิตลักษณะจำนวน 4 แบบวัด ได้แก่ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต - ควบคุมตน แบบวัดการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม และแบบวัดความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและผลจาก การกระทำของตน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83, .71, .52 และ .81 ตามลำดับ (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อ พัฒนาความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและผลจากการกระทำของตน จำนวน 10 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการฝึกความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและผลจาก การกระทำของตนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว มีความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและผลจากการกระทำของตน สูงกว่านักเรียนวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนวัยรุ่นที่มีความพร้อมทางจิตสูง เมื่อได้รับการฝึกเพื่อพัฒนาความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและ ผลจากการกระทำของตนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว ได้รับประโยชน์จากการฝึกไม่แตกต่างจากนักเรียน วัยรุ่นที่มีความพร้อมทางจิตต่ำ (3) ไม่พบประเภทของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการฝึก ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว แต่พบว่า กลุ่มการฝึก ลักษณะมุ่งอนาคต - ควบคุมตน และเพศ เป็นตัวทำนาย สำคัญของความเชื่อในการควบคุมสาเหตุและผลจากการกระทำของตน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10273 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License