กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10283
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a model for evaluating the desired characteristics of students of Thongniankanapibal School in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพักตร์ พิบูลย์
พนิดา อินณรงค์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อรรณพ จีนะวัฒน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
นักเรียน--พฤติกรรม
นักเรียน--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ นักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และ 3) ประเมินผล การใช้รูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2548-2549 จำนวน 117 223 และ 192 คน ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 432 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ได้ข้อสรุปดังนี้ 1) ได้ตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ด้าน คือ ด้าน ความมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเสียสละ สามัคคี ด้านความซื่อสัตย์ และด้านความ กตัญญ กตเวที โดย แต่ละด้านประกอบด้วยตัวบ่งชี้สำคัญ 4 ตัวบ่งชี้ 2) รูปแบบการประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการในแต่ละรอบปี เน้นการดำเนินการ 5 ขั้นตอนคือ (1) วิเคราะห์ทบทวนคุณลักษณะคุณลักษณะและตัวบ่งชี้ที่มุ่งประเมิน พร้อมกำหนด วิธีการประเมินและเกณฑ์การตัดสิน (2) จัดทำ/ปรับปรุงคู่มือการประเมินในรอบปี (3) บันทึก พฤติกรรมและรวบรวมข้อมูลตลอดปี (4) วิเคราะห์ ตัดสินผลการประเมินเป็นรายคนและระดับชั้น เรียน และ (5) รายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง และ 3) ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในระดับมาก ผู้ร่วม วิจัยมีความพึงพอใจและเกิดการเรียนรู้ในระดับมาก และ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เห็นว่า รูปแบบการประเมินที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและควรนำไปใช้อย่างต่อเนื่อง ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10283
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons