Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10285
Title: | ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายเรื่องการป้องกันและกำจัดมัลแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับครูสายผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 |
Other Titles: | A computer-based training package via network on the topic of prevention and removal of malicious computer software for teachers in secondary schools under the Office of Loei Educational Service Area 1 |
Authors: | สมพงษ์ แตงตาด สมชาย กายใหญ่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิคม ทาแดง สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ คอมพิวเตอร์--การควบคุมการเข้าถึง |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่ายให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้รับการ ฝึกอบรมที่ใช้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายเครือข่ายและ (3) ศึกษาความคิดเห็นของ ผู้รับการฝึกอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูสายผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดฝึกอบรม ด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย เรื่อง การป้องกันและกำจัดมัลแวร์คอมพิวเตอร์ สำหรับ ครูสาย ผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจำนวน 3 หน่วย การเรียน ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับมัลแวร์คอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 2 การทำงาน ลักษณะและการแพร่กระจายของมัลแวร์คอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 3 การตรวจหา กำจัดและการ ป้องกันมัลแวร์คอมพิวเตอร์ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความ คิดเห็นของผู้รับการฝึกอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย เรื่อง การป้องกัน และกำจัดมัลแวร์คอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วยมีประสิทธิภาพ 80.00/81.33, 79.33/80.00 และ 80.67/81.00 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) ผู้รับการฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ผู้รับการฝึกอบรมมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรมด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10285 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License