กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10410
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาธิบาลด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors of good governance principle of public participation Nikhom Phatthana Tambol Administrative Organization in Nikhom Phatthana District, Rayong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมปฤณ นิยมไทย มีนา จินะโกษฐ์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา (2) ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนาและ (3) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริม การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของ อบต.นิคมพัฒนา เกิดจากประชาชนรู้สึกว่ามีความรู้ความสามารถน้อย ไม่สำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วม ขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงในสิทธิ บทบาท หน้าที่และจิตสำนึกของตน ไม่เข้าใจ โครงสร้างอำนาจหน้าที่และบทบาทของ อบต.นิคมพัฒนา ความไม่พร้อมเรื่องเวลาในการเข้าไปมีส่วนร่วม และห่างเหินไม่ผูกพันกับชุมชน/อบต.นิคมพัฒนา (2) ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมได้แก่ (2.1) ปัจจัยเกี่ยวกับบุคคล ได้แก่ รู้จักบาทหน้าที่ กล้าแสดงความคิดเห็น เต็มใจที่จะมีส่วนร่วม คำนึงถึงผลประโยชน์หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองและชุมชน มีความเชื่อมั่นผู้บริหารและพนักงาน อบต.นิคมพัฒนา (2.2) ปัจจัยเกี่ยวกับชุมชนได้แก่ ชุมชนให้การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เข้าไปมีส่วนร่วม ความศรัทธาของชุมชนที่มีต่อ อบต.นิคมพัฒนา และความสัมพันธ์ที่ดีกับ อบต.นิคมพัฒนา (2.3) ปัจจัยเกี่ยวกับ อบต. ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานมีความเป็นผู้นำ ผู้บริหารเป็นคนท้องถิ่น บริหารงานเป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย และมีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา (3) แนวทางการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของ อบต.นิคมพัฒนาได้แก่ ปลูกฝังค่านิยมให้ประชาชนผูกพันและเกิดความรู้สึกว่า อบต.นิคมพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีส่วนร่วมแก่ผู้นำชุมชน ประชาชน และพนักงาน สนับสนุนให้ใช้เวทีชาวบ้าน ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นธำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ จารีตและประเพณี อันดีงามของท้องถิ่น สร้างจิตสำนึกให้ผู้บริหารและพนักงานยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วม คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ จิตสำนึกของพลเมือง และกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติงานและส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่ม/ชมรมขึ้นในชุมชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10410 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
143421.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License