กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10452
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the outcome of STEM learning management in schools under the Secondary Educational Service Area Office Surin
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิธร กาญจนสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สสินา ปิ๊บกลาง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา และ 3) สร้างสมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 394 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถามแบบมาตร ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .67-1.00 ค่าความเที่ยง .946 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรทั้งหมดเข้าสมการ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ นักเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ย ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เท่ากับ 3.39 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ด้านสมรรถนะของผู้เรียน รองลงมา คือ การส่งเสริมด้านสะเต็มศึกษา การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ การใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยด้านสมรรถณะของผู้เรียน (x5) การส่งเสริมด้านสะเต็มศึกษา (x1) การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ (x3) การใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ (x4) และ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (x2) ร่วมกันพยากรณ์ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา (y) ได้ร้อยละ 87.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ โดยเขียนในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10452
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons