กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10461
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเรื่องโสตทัศนูปกรณ์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Computer-based learning packages via network in the educational technology course on the topic of audio-visual equipment for undergraduate students of Chiang Rai Rajabhat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ แตงตาด
ประเสริฐ แสงมณีวรรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธนิศ ภู่ศิริ
สมเชาว์ เนตรประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
เทคโนโลยีทางการศึกษา--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
เทคโนโลยีทางการศึกษา--แบบเรียนสำเร็จรูป
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชา เทคโนโลยีการศึกษา เรื่องโสตทัศนูปกรณ์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าด้านการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราช ภัฏเชียงราย ที่เรียนจากชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อน เรียนและหลังเรียน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียน ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย เครือข่าย คือ คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่ลงทะเบียน เรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 42 คนโดยทำการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชา เทคโนโลยีการศึกษา แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดการเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ผู้วิจัยได้นำข้อมูล จากการทดลองมาวิเคราะห์ทางสถิติ หาประสิทธิภาพของชุด การเรียนโดยใช้ค่าประสิทธิภาพ E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่สร้างและพัฒนาขึ้น ทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพดังนี้ หน่วยที่ 9 = 80.28/ 80.23, หน่วยที่ 10 = 80.48/82.38 และ หน่วยที่ 11 = 79.20/80.00 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่ายว่ามีคุณภาพในระดับเหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10461
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons