กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10587
ชื่อเรื่อง: ความเต็มใจจ่ายสำหรับการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Willingness to pay for parcel delivery service of e-commerce entrepreneur in Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี ผาสุข
กวีวัฒน์ เศรษฐวิวัฒน์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความเต็มใจจ่าย
บริการจัดส่งสินค้า
ผู้บริโภค--ทัศนคติ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์ 2) ความเต็มใจจ่ายสำหรับการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์ ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์ที่เคยใช้บริการขนส่งพัสดุ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของคอแครน เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความเต็มใจจ่ายด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 27 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว สถานภาพโสด ระยะเวลาประกอบกิจการน้อยกว่า 1 ปี รายได้จากการประกอบการน้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ประกอบกิจการที่บ้านหรือที่พัก และประกอบกิจการด้วยตนเองไม่มีพนักงาน มีการจัดส่งพัสดุโดยใช้บริการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มากที่สุด รองลงมาได้แก่ เคอรี่ เอ็กเพรส สินค้าที่จัดส่งเป็นประเภท เสื้อผ้า หมวก รองเท้า ใช้การจัดส่งพัสดุแบบธรรมดาร้อยละ 36.2 จัดส่งพัสดุแบบด่วนร้อยละ 43.3 จัดส่งพัสดุแบบด่วนที่เรียกเก็บเงินปลายทางร้อยละ 20.5 และ 2) ปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัดสินใจในการใช้บริการขนส่งพัสดุมากที่สุด คือ ราคาค่าจัดส่ง รองลงมาคือ การบริการของพนักงาน การบริการเก็บเงินปลายทาง และรับพัสดุถึงบ้าน ตามลำดับ รูปแบบการให้บริการการจัดส่งพัสดุที่มีค่าความเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงสุด 17.130 บาท คือ มีราคาจัดส่ง 35 บาท/ชิ้น (ไม่เกิน 1 กิโลกรัม) ความเร็วในการจัดส่งปกติ ไม่มีการบริการเก็บเงินปลายทางและรับพัสดุถึงบ้าน การบริการของพนักงานระดับดี และมีจำนวนจุดให้บริการรับพัสดุจำนวนมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10587
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons