กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1077
ชื่อเรื่อง: | ความเข้าใจ ทัศนคติ และการใช้ตัวชี้วัดผลการทำงานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดมุกดาหาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comprehension , attitudes, and application of key performance indicatiors of health consumer protection among responsible health personnel in Mukdahan province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม สุภาพ วงศ์พัฒนวุฒิ, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เยาวภา ปิ่นทุพันธ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--การทำงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ทัศนคติ การคุ้มครองผู้บริโภค |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จําแนกระดับความเข้าใจตัวชี้วัดผลการทํางานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค (2) เพื่อ จำแนก ระดับการใช้ตัวชี้วัดผลการทำงานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค (3) เพื่อจำแนกระดับทัศนคติต่อตัวชี้วัดผลการทํางานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจและทัศนคติกับการใช้ตัวชี้วัดผลการทํางานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค (5) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้ตัวชี้วัดผลการทํางานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สามารณสุข รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคในปีงบประมาณ 2547 ในจังหวัดมุกดาหาร จํานวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม เกี่ยวกับความเข้าใจ การใช้ ทัศนคติ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อตัวชี้วัดผลการทำงานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค แบบสอบถามมีค่าความเทียงเท่ากับ 0.71, 0.70, 0.91,0.78 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานและการทดสอบความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแล้วส่งกลับมายังผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเข้าใจตัวชี้วัดผลการทํางานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง (2) ระดับการใช้ตัวชี้วัดผลการทำงานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง (3) ระดับทัศนคติของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคที่มีต่อด้วชี้วัดผลการทํางานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง (4) ความเข้าใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้ตัวชี้วัดผลการทำงานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างดี มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ 0.360 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความสัมพันธ์ของความเข้าใจกับทัศนคติ และการใช้กับทัศนคติต่อตัวชี้วัดผลการทำงานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความสัมพันธ์น้อยมากและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (5) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีระดับปัญหาอุปสรรคการใช้ตัวชี้วัดผลการทำงานหลักงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีสัดส่วนสูงสุดในระดับปานกลาง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1077 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License