กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10818
ชื่อเรื่อง: ผลการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงาน เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จของนักเรียนวัยรุ่นที่มีจิตลักษณะแตกต่างกัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of training by a guidance activity package for developing work performance toward achievement of adolescent students with different psychological characteristics
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจียรนัย ทรงชัยกุล
จิดาภา โลหะพงศ์พันธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
โกศล มีคุณ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์
กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียน--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ ของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ กับไม่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ และ (2) หาประเภทของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนวัยรุ่นชายและหญิง อายุระหว่าง 13- 15 ปี ของโรงเรียนจักราชวิทยา จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2550 จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมอย่างละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนา การปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วยกิจกรรม จำนวน 11 กิจกรรม และ (2) แบบวัด จำนวน 4 ชุด คือ แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต - ควบคุมตน แบบวัด เหตุผลเชิงจริยธรรม และแบบวัดการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ ค่าความเที่ยงเท่ากับ .58,57,.73 และ .74 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนา การปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ มีการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จสูงกว่านักเรียนวัยรุ่น ที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนวัยรุ่นที่มีความพร้อมทางจิตลักษณะเดิมสูง และนักเรียนที่มีความพร้อมทางจิตลักษณะเดิมต่ำ เมื่อได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ ได้รับประโยชน์ไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10818
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons