Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10845
Title: สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
Other Titles: Team-working competency of teachers in Schools under Prachuap Khirikhan Primary Education Service Area Office 2
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัญญา จิตพลีชีพ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ครู--การทำงานเป็นทีม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 (2) เปรียบเทียบสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูโดยจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียน และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 473 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครสซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู เปรียบเทียบตามเพศ และวุฒิการศึกษา พบว่ามีสมรรถนะการทำงานเป็นทีมโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู เปรียบเทียบตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันทุกด้าน ยกเว้นด้านการเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อนร่วมงานที่ไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างครูเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นให้กับครู มอบหมายหน้าที่ให้ตามความสามารถ สร้างขวัญกำลังใจให้ครู และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างยุติธรรม ส่วนครูควรให้กำลังใจและแนะนำเพื่อนครูอย่างกัลยาณมิตรปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย ยอมรับในตัวตนและบทบาทของเพื่อนครู ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามอย่างเหมาะสม ยอมรับและไว้ใจในความสามารถของเพื่อนครูและทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10845
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons