กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10869
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่องที่มีต่อความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย โรงเรียนประตูชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of storyline method on responsibility of preschool children at Pratoochai School in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัฒนา มัคคสมัน
พัชรินทร์ พรหมเมศ, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พัชรี ผลโยธิน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์
การสอน--วิธีวิทยา
การศึกษาปฐมวัย--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง และ (2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนประตูชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือและแผนการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่องและแบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ก่อนการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง เด็กปฐมวัยมีความรับผิดชอบอยู่ในระดับต่ำ ระหว่างการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง เด็กปฐมวัยมีความรับผิดชอบสูงขึ้นตามลำดับ โดยสัปดาห์ที่ 1 มีความรับผิดชอบอยู่ในระดับต่ำ สัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 5 มีความรับผิดชอบอยู่ในระดับปานกลาง และสัปดาห์ที่ 6 ถึงสัปดาห์ที่ 8 มีความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง และ (2) หลังการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง เด็กปฐมวัยมีความรับผิดชอบสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10869
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons