Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10873
Title: | การบูรณาการระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย และความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของบริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี |
Other Titles: | Integration of quality, occupational health and safety, and environmental management system for a hard disk drive company in Prachin Buri Province |
Authors: | กุลธิดา บรรจงศิริ สุนิสา รวมใหม่, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปธานิน แสงอรุณ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม --วิทยานิพนธ์ ฮาร์ดดิสก์--การผลิต--แง่อนามัย ฮาร์ดดิสก์--การผลิต--มาตรการความปลอดภัย |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรวมระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001:2015) ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001:2018) และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2015) (2) ศึกษาการนำระบบการจัดการแบบบูรณาการของบริษัทแห่งหนึ่งมาประยุกต์ใช้ และ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการนำระบบการจัดการแบบบูรณาการของบริษัทแห่งหนึ่งมาประยุกต์ใช้ การวิจัยนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร ข้อกำหนดระบบบริหารงานคุณภาพ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และรวบรวมปัญหาจากเอกสารผลการตรวจประเมินภายใน และผลการตรวจประเมินภายนอกของบริษัทแห่งหนึ่ง พ.ศ. 2562 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทั้ง 3 ระบบนี้ใช้โครงสร้างเดียวกัน คือ โครงสร้างระดับสูงใช้แนวคิด PDCA และแนวคิดบนพื้นฐานความเสี่ยงมาปรับใช้กับทั้ง 3 ระบบ และพบว่าสามารถบูรณาการข้อกำหนดของระบบเข้าด้วยกันได้ คิดเป็นร้อยละ 78 ลดชั่วโมงการตรวจประเมินภายในลงได้ร้อยละ 66.7 ลดจำนวนเอกสารสารสนเทศลงได้ร้อยละ 41.2 และลดจำนวนวันที่ต้องอบรมเกี่ยวกับระบบการจัดการลงได้ร้อยละ 55 (2) พบประเด็นความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด 3 ลำดับแรก คือ อันดับที่ 1 คือ ข้อกำหนด 8.1 การวางแผน และการควบคุมการปฏิบัติงาน อันดับที่ 2 คือ ข้อกำหนด 6.1 การดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส ข้อกำหนด 7.5 เอกสารสารสนเทศ และอันดับที่ 3 คือ ข้อกำหนด 8.2 ข้อกำหนอผลิตภัณฑ์และบริการ และ (3) พบปัญหาอุปสรรคจากการบูรณาการระบบการจัดการ คือ การตีความแต่ละข้อกำหนดขึ้นกับความเข้าใจของแต่ละบุคคลเกิดความไม่เข้าใจในบางประเด็นของเจตนารมย์ของข้อกำหนดใหม่ องค์กรไม่มีบุคลากรที่รับผิดชอบในการดำเนินการบูรณาการระบบการจัดการที่ทำงานด้านนี้แบบเต็มเวลา องค์กรมีขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ข้อเสนอแนะในการบูรณาการระบบ คือ ควรจัดแผนการอบรมสำหรับผู้ตรวจประเมินภายในเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน การจัดทำรายการตรวจประเมินภายในอย่างละเอียดเพื่อเป็นแนวทางในการตรวจประเมินและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินการให้มากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10873 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License