กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10891
ชื่อเรื่อง: | การประเมินประสิทธิภาพงานการวัดและประเมินผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An evaluation of the efficiency of measurement and evaluation work of schools in Chaiyaphum educational service area 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพักตร์ พิบูลย์ ก่อเกียรติ ฐานวิเศษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บัณฑิต แท่นพิทักษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การวัดผลทางการศึกษา โรงเรียน--การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับงานการ วัดและประเมินผล (2) ประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับงานการวัดและ ประเมินผล (3) ประเมินคุณภาพด้านผลผลิตเกี่ยวกับงานการวัดและประเมินผล และ (4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนางานการวัดและประเมินผล ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ที่สำคัญ คือ (1) แหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร ได้แก่ แผนปฏิบัติการประจำปี เอกสารสรุปผลการเรียน แบบประเมินตนเองของสถานศึกษา แบบประเมิน คุณภาพผู้เรียน และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา และ (2) แหล่งข้อมูลประเภทบุคคล ประกอบด้วย (1) ผู้บริหาร (2) ครูฝ่ายวัดและประเมินผล (3) ครูผู้สอนรายวิชา จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวนทั้งหมด 284 โรงเรียน รวมผู้ให้ ข้อมูล 852 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามประเภท มาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการประเมินความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับงานการวัดและ ประเมินผล อยู่ในระดับพร้อมมาก/ระดับดี (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงาน เกี่ยวกับงานการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับดี (3) ผลการประเมินคุณภาพด้านผลผลิตเกี่ยวกับงานการ วัดและประเมินผล อยู่ในระดับดี ตัวบ่งชี้ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเฉลี่ยสะสมของผู้เรียนกับ คะแนนผลการประเมินระดับชาติ อยู่ในระดับพอใช้ และ (4) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญด้านงานการวัดและ ประเมินผล คือ ปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรและมาตรฐานของผลการประเมินพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมี ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนางานที่สำคัญ คือ ควรพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลของบุคลากร ควรสร้างมาตรฐานงานการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาให้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน และควรการใช้ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานด้านการวัดและประเมินผล |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10891 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License