กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10902
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาการพัฒนาความเป็นเกษตรกรในอนาคตเรื่องการดำเนินกิจกรรมองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Computer-based learning packages via network in Leadership Development for Future Farmers on Activities of Future Farmers Organization of Thailand for Vocational Cretificate students of vocational education institutions in the Northern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกษร บุญอำไพ
อภิวันท์ จักรคำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ
มงคลชัย สมอุดร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
เกษตรกร--แบบเรียนสำเร็จรูป
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชา การพัฒนาความเป็นผู้นำเกษตรกรในอนาคตเรื่องการดำเนินกิจกรรมองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าด้านการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ ที่เรียนจากชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนที่มีต่อคุณภาพ ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพัฒนาความเป็นผู้นำเกษตรกรในอนาคตในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 43 คนโดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดการเรียน ด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาการพัฒนาความเป็นผู้นำเกษตรกรในอนาคตเรื่องการดำเนินกิจกรรม องค์การ เกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถาบันอาชีวศึกษา ภาคเหนือ จำนวน 3 หน่วย (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็น ของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ โดยใช้ E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่สร้างและพัฒนาขึ้น ทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้ 80.89/81.33,80.22/80.67และ 80.44/81.00 ตามลำดับ (2) นักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษา มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายในระดับเหมาะสมมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10902
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons