กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10908
ชื่อเรื่อง: | ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน กรณีการชุมนุมในที่สาธารณะ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Public prosecutor's discretion in the non-criminal prosecution orderings which are not public interests : a case of public assembly |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต อำนาจ โกสวัสดิ์, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การชุมนุมสาธารณะ--ไทย การฟ้องคดีอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมาย การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน (2) เพื่อศึกษาแนวคิดตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของผู้ชุมนุมในที่สาธารณะตาม พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนของพนักงานอัยการในประเทศอังกฤษและเยอรมนี เพื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย (4) เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์ การสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนของพนักงานอัยการในคดีเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ ให้ชัดเจนมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายประเภทการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษา การวิจัยเอกสารจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ รายงาน การวิจัยวิทยานิพนธ์ ตำราทางวิชาการ บทความในเอกสาร ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมารวบรวมและวิเคราะห์ให้เป็นระบบ เพื่อทำการศึกษาหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนยังไม่มีหลักเกณฑ์และแนวทางที่ชัดเจน และนิยามคำว่า “ประโยชน์แก่สาธารณะ” ยังไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง (2) รัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพประชาชนในการชุมนุมสาธารณะได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธและไม่กระทบต่อสิทธิของประชาชนทั่วไป (3) ประเทศอังกฤษและเยอรมนีได้วางแนวทางทุกขั้นตอนในการพิจารณาไว้ให้พนักงานอัยการ โดยมีการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจไว้อย่างชัดแจ้งและเปิดเผยต่อสาธารณชน (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้กำหนดหลักเกณฑ์การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนไว้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งยังกำหนดไว้เป็นหลักการสั่งคดีอย่างเป็นขั้นตอน และเผยแพร่ต่อสาธารณชนให้รับรู้ถึงหลักการดังกล่าว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10908 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166847.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License