กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10909
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเลือกสาขางานที่เรียนได้อย่างเหมาะสมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to appropriate field of study selection behaviors of Vocational Certificate Level Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกศล มีคุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจียรณัย ทรงชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญวิภา ทองใหม่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การศึกษาทางวิชาชีพ
นักเรียนอาชีวศึกษา--พฤติกรรม.--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกสาขางานที่เรียนได้ อย่างเหมาะสมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีการรับรู้สถานการณ์ทางสังคมต่างกัน (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกสาขางานที่เรียนได้อย่างเหมาะสมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ที่มีจิตลักษณะต่างกัน (3) เปรียบเทียบการทำนายพฤติกรรมการเลือกสาขางานที่เรียนได้อย่าง เหมาะสม ด้วยตัวแปรกลุ่มสถานการณ์ทางสังคมร่วมกับตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะกับตัวแปรกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนกรุงเทพการบัญชี วิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 339 คนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ ตัวแปรใน การวิจัยมี 7 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดปัจจัย สถานการณ์ แบบวัดปัจจัยจิตลักษณะ และแบบวัดพฤติกรรมการเลือกสาขางานที่เรียนได้อย่างเหมาะสม แบบวัดตัวแปรทั้ง 7 ชุด เป็นแบบวัดประเภทมาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเที่ยงตั้งแต่ .69 ถึง .89 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบสามทาง การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า(1)เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรสถานการณ์ทางสังคม นักเรียนที่มีพฤติกรรม การเลือกสาขางานที่เรียนได้อย่างเหมาะสม คือนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลน้อยแต่มีตัว แบบเพื่อนที่ดีมาก(2)เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรจิตลักษณะนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเลือกสาขางานที่เรียน ได้อย่างเหมาะสมคือนักเรียนที่มีเอกลักษณ์แห่งอีโก้สูง ซึ่งมีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนสูงและมีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์สูง (3) เมื่อเปรียบเทียบการทำนาย ชุดตัวทำนายที่ประกอบด้วยสถานการณ์ทางสังคม 3 ตัวแปร จิตลักษณะ3 ตัวแปร ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเลือกสาขางานที่เรียนได้อย่างเหมาะสมได้ไม่ดีกว่ากลุ่มตัว แปรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยลำพัง(ไม่เกิน5%) ขณะที่ได้พบว่าตัวทำนายสำคัญของพฤติกรรมการเลือกสาขา งาน คือ เอกลักษณ์แห่งอีโก้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน โดยตัวแปรทั้งสาม ร่วมกันสามารถทำนายพฤติกรรมการเลือกสาขางานได้ร้อยละ 30.8
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10909
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons