กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10950
ชื่อเรื่อง: สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Competencies of school administrators affecting learning space enhancement of schools under Mae Hong Son Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกรินทร์ เขียวไปล่, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาและ 4) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การบริการที่ดี การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การพัฒนาการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสาร การพัฒนาทีมงาน และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) การเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทางกายภาพและการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทางสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด และการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้เสมือนจริงอยู่ในระดับมาก 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในระดับค่อนข้างสูง (r = .616) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการพัฒนาทีมงาน ด้านการบริการที่ดี ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการพัฒนาการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสารส่งผลต่อการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยมีอำนาจร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 39.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10950
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons