กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10953
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationships between academic affairs administration roles of administrators and quality of learners in basic education schools under the office of Phra Nakhon Si Ayutthaya Educational Service Area 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรณพ จีนะวัฒน์ สหชัย วันทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชาติ แจ่มนุช |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การศึกษาขั้นพื้นฐาน--การบริหาร ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร คุณภาพการศึกษา--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีระดับการปฏิบัติตามบทบาทการ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการปฏิบัติตามบทบาทการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหาร ในเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 (2) เปรียบเทียบระดับการ ปฏิบัติตามบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามขนาดโรงเรียน (3) ศึกษาผลการประเมิน มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาด้านผู้เรียน (4) เปรียบเทียบผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ สถานศึกษาด้านผู้เรียนตามขนาดโรงเรียน และ (5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการ บริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาด้านผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้างานบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำนวน 108 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .98 และแบบสำรวจผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาด้านผู้เรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าสหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน บริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก (2) ผู้บริหารในโรงเรียน ขนาดต่างกันมีการปฏิบัติตาม บทบาทการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (3) ผลการ ประเมินมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาด้านผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (4) โรงเรียนที่มีขนาด ต่างกันมีผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาด้านผู้เรียนไม่แตกต่างกัน และ (5) บทบาท การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาด้านผู้เรียน มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในบทบาทเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และบทบาท การคัดเลือกแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10953 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License