กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10982
ชื่อเรื่อง: การจัดโครงสร้างองค์กรของห้องสมุดเฉพาะทางการเกษตร เพื่อการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organization structure of the agricultural library as a learning center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร
อุไรวรรณ ดีจริง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชุติมา สัจจานันท์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ห้องสมุดเฉพาะ--การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
ศูนย์การเรียนรู้
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดโครงสร้างองค์กรของห้องสุมุดเฉพาะทาง การเกษตร (2) ศึกษาสภาพการจัดโครงสร้างองค์กรของห้องสมุดเฉพาะทางการเกษตรที่พึงประสงค์ตามความ คาดหวังของบรรณารักษ์ผู้บริหารห้องสมุด เพื่อการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และ (3) เสนอแนวทางการจัด โครงสร้างองค์กรของห้องสมุดเฉพาะทางการเกษตรเพื่อการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากผู้บริหารห้องสมุด เฉพาะทางการเกษตรในสังกัดหน่วยงานราชการ จำนวน 4 ราย รัฐวิสาหกิจ 2 ราย และเอกชน 2 ราย ที่ตั้งอยู่ใน เขตพื้นที่กรุงเทพามหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปแบบอุปนัย ส่วนข้อมูลจาก แบบสำรวจนำมาสรุปเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดโครงสร้างองค์กรของห้องสมุดเฉพาะทางการเกษตรเป็นแบบ แนวดิ่ง และไม่แตกต่างกันทั้งในสังกัดหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน แต่มีความแตกต่างกันในด้าน การเรียกชื่อห้องสมุด จำนวนบุคลากร และทรัพยากรสารสนเทศ (2) สภาพการจัดโครงสร้างองค์กรของห้องสมุด เฉพาะทางการเกษตรที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของบรรณารักษ์ผู้บริหารห้องสมุด เพื่อการเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน บรรณารักษ์ผู้บริหารห้องสมุดต้องการให้ห้องสมุดเป็นเอกเทศขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุด ของหน่วยงานเพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และมีผู้แทนจากทุกหน่วยงานในระดับกองเป็นคณะกรรมการ มีห้องการจัดการความรู้ไว้บริการความรู้เกี่ยวกับงานของหน่วยงานเจ้าสังกัด ส่วนบทบาทในการเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านบริหารจัดการและรองรับงานบริการเพื่อให้ ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็ว (3) แนวทางการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ห้องสมุดควรมีการปรับองค์กรให้ทันสมัย มีโครงสร้างแบบปิรามิดหัวกลับ จัดองค์กรแบบแนวราบ ทำงานเป็น ทีม จัดองค์กรเป็นเครือข่าย สังกัดอยู่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ การกำหนดช่องทาง สื่อสารเพื่อให้เกิดการประสานงาน มีบรรยากาศที่มีประสิทธิผล มีความยืดหยุ่น ความร่วมมือ บุคลากรมี สถานภาพความมั่นคง ความคิดสร้างสรรค์ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10982
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons