กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11046
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเรื่อง สารชีวโมเลกุลที่มีต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of context-based learning management in the topic of Biomolecules on scientific argumentation skill and learning achievement of second year cadets at Armed Forces Academies Preparatory School in Nakhon Nayok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
กมลวรรณ ดีอยู่เจริญพร, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สถานการณ์จำลอง (การสอน)
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน--ไทย--นครนายก
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเรื่อง สารชีวโมเลกุลกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเรื่อง สารชีวโมเลกุลกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 70 คน จำนวน 2 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม และจับฉลากห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเรื่อง สารชีวโมเลกุลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหารจังหวัดนครนายก ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเรื่อง สารชีวโมเลกุลสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง สารชีวโมเลกุลสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11046
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons