กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11048
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคนิคการพยากรณ์ในการพยากรณ์ยอดขายผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ระบบเครือข่ายยี่ห้อหัวเว่ยของบริษัทตัวแทนจำหน่ายแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Use of forecasting techniques for sale forecast of Hauwei networking systems equipment for a distributor company
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัณณวัชร์ มณีรัชตินาคสกุล, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: พยากรณ์การขาย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ -- เครื่องมือและอุปกรณ์
การศึกษาอิสระ -- บริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- การศึกษาเฉพาะกรณี.
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เทคนิคการพยากรณ์ด้วยวิธีการแตกอนุกรมเวลาในการพยากรณ์ยอดขายอุปกรณ์ระบบเครือข่ายยี่ห้อหัวเว่ยของบริษัทตัวแทนจำหน่ายแห่งหนึ่ง (2) เปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างการพยากรณ์จากยอดขายจริงกับค่าเป้าหมายในแผนการขายอุปกรณ์ระบบเครือข่ายยี่ห้อหัวเว่ยของฝ่ายบริหารบริษัทตัวแทนจำหน่ายแห่งหนึ่งการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลยอดขายจริงเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบเครือข่ายยี่ห้อหัวเว่ย และค่าเป้าหมายในแผนการขายอุปกรณ์ระบบเครือข่ายยี่ห้อหัวเว่ยของฝ่ายบริหารบริษัทตัวแทนจำหน่ายแห่งหนึ่ง ย้อนหลัง 3 ปี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้ คือเทคนิคการพยากรณ์ด้วยวิธีการแตกอนุกรมเวลาความสัมพันธ์แบบคูณและวิธีการแตกอนุกรมเวลาความสัมพันธ์แบบบวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนสัมบูรณ์ ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง และค่าความลำเอียง ผลการศึกษา พบว่า (1) เทคนิคการพยากรณ์ยอดขายอุปกรณ์ระบบเครือข่ายยี่ห้อหัวเว่ยที่นำมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ วิธีการแตกอนุกรมเวลาความสัมพันธ์แบบคูณ และวิธีการแตกอนุกรมเวลา ความสัมพันธ์แบบบวก ซึ่ง พบว่า วิธีการแตกอนุกรมเวลาความสัมพันธ์แบบบวก เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการพยากรณ์มากกว่าวิธีการแตกอนุกรมเวลาความสัมพันธ์แบบคูณ เนื่องจากให้ค่าเฉลี่ความเบี่ยงเบนสัมบูรณ์และค่าเฉลี่ยคลาดเคลื่อนกำลังสองน้อยกว่า และเมื่อทำการทดสอบค่าความลำเอียงภายใต้ช่วงค่าควบคุมที่ +5MAD พบว่า ค่าความลำเอียงส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ช่วงค่าควบคุม โดยมีค่าที่ออกนอกช่วงควบคุมที่สามารถค้นหาข้อมูลเชิงประจักษ์มาอธิบายได้ (2) ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนสัมบูรณ์ และค่าเฉลี่ยคลาดเคลื่อนกำลังสองที่ได้จากการคำนวณจากยอดขายจริงด้วยวิธีการแตกอนุกรมเวลาความสัมพันธ์แบบบวก ให้ค่าคลาดเคลื่อนน้อยกว่าการคำนวณจากค่าเป้าหมายในแผนการขายของฝ่ายบริหาร ดังนั้น เทคนิคการพยากรณ์ด้วยวิธีการแตกอนุกรมเวลาความสัมพันธ์แบบบวก จึงมีความเหมาะสมต่อการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อกำหนดค่าเป้าหมายการขายเบื้องต้นในแผนการขายของบริษัทตัวแทนจำหน่ายแห่งนี้ ซึ่งผู้บริหารอาจพิจารณาปรับค่าเป้าหมาย โดยใช้ค่าพยากรณ์เป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือได้.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11048
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168546.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons