Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11077
Title: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีเกสตัลท์เพื่อพัฒนาการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: The effects of using a guidance activities package based on gestalt theory to develop optimism of Mathayom Suksa V students of Niyomsilp Anusorn School in Phetchabun Province
Authors: วัลภา สบายยิ่ง
มะลิสา สุธารัตน์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุขอรุณ วงษ์ทิม
Keywords: การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียนมัธยมศึกษา--กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียนมัธยมศึกษา--ไทย--เพชรบูรณ์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีเกสตัลท์ (2) เปรียบเทียบการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีเกสตัลท์และของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีเกสตัลท์เพื่อพัฒนาการมองโลกในแง่ดี นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการมองโลกในแง่ดีสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีเกสตัลท์เพื่อพัฒนาการมองโลกในแง่ดีมีคะแนนการมองโลกในแง่ดีสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีเกสตัลท์เพื่อพัฒนาการมองโลกในแง่ดี อยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมคือ (1) เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถนำมาใช้ได้จริงเมื่อรู้สึกท้อแท้ (2) บางกิจกรรมให้เวลาน้อยไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม และ (3) ควรสำเนาเอกสารเป็นภาพสีเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11077
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons