กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11129
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกิจกรรมการเล่นละครวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์และสารอาหาร ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในศูนย์คุณภาพมาตรฐานการศึกษาภูหลวง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of the inquiry learning activities management together with the science drama activity in the topic of Human Body and Nutrients on science learning achievement and attitude toward science of Prathom Suksa VI Students of Phu Luang Educational Standard Quality Center Schools
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกวรรณ มังสัง, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกิจกรรมการเล่นละครวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์และสารอาหาร (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนดังกล่าวหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนดังกล่าว ระหว่างก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกิจกรรมการเล่นละครวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่ากล้วย ในศูนย์คุณภาพมาตรฐานการศึกษาภูหลวง จำนวน 12 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกิจกรรมการเล่นละครวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์และสารอาหาร (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ (3) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบเครื่องหมาย ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมการเล่นละครวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์และสารอาหารสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.91 คิดเป็นร้อยละ 69.70 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 และ (3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11129
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม956.27 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons