Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11153
Title: การจัดกลุ่มคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Other Titles: Profiling Bunditpatanasilpa Institute students’ quality through cluster analysis of the Ordinary National Educational Test (O-Net) score
Authors: สังวรณ์ งัดกระโทก
นุชจรินทร์ แจ่มสากล, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นลินี ณ นคร
Keywords: การวัดผลทางการศึกษา
การทดสอบความสามารถ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบคุณภาพผู้เรียนกับภูมิหลังของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศจำนวน 1,039 คน ที่เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (0-NET) ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบบันทึกผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และ (2) แบบบันทึกข้อมูลรายบุคคลของครู อาจารย์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ การจัดกลุ่มข้อมูล การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) คุณภาพผู้เรียนจากการวิเคราะห์การจัดกลุ่มผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 3 รูปแบบ คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้เรียนที่มีคะแนนปานกลางโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมอยู่ในระดับดี แต่ต้องปรับปรุงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้เรียนที่มีคะแนนสูงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้เรียนที่มีคะแนนต่ำในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน และ (2) รูปแบบคุณภาพผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับงบประมาณทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบคุณภาพผู้เรียนกับวุฒิการศึกษาและอายุเฉลี่ยของครู
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11153
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons