กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11176
ชื่อเรื่อง: บทบาทของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาในเขตพื้นที่บริการสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1, 2, 3 กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The roles of educational region committee on educational administration and management in the office of strategy management and educational integration No 1, 2, and 3, Ministry of Education.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำลอง นักฟ้อน
เสาวภา บูชาธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สนธิรัก เทพเรณู
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
การบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (I)เพื่อศึกษาบทบาทของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับการ บริหารจัดการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1,2, และ 3 (2) เพื่อ เปรียบเทียบบทบาทของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1,2, 3 กระทรวงศึกษาธิการ จำแนกตามความคิดเห็นของแต่ละ องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ และจำแนกตามเขตพื้นที่บริการของสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการ การศึกษา (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาในการ บริหารจัดการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณการการศึกษาที่ 1,2,3 กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพื้นที่บริการของสำนักบริหารยุทธศาสตร์ และบูรณาการการศึกษาที่ 1,2, 3 จำนวน 48 เขตพื้นที่ 264 คนได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง ของเครจซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบ มาตรประมาณค่า ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีความเที่ยง .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการดำเนินการตามบทบาทที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และบทบาทตามพระราชบัญญัติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา แต่ละองค์ประกอบมีระดับการดำเนินการ ตามบทบาทแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา มีระดับการดำเนินการตามบทบาทแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ การดำเนินการตามบทบาทตามลำดับ ได้แก่ ควรมีการยุบรวมสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียงกัน ควรมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเกิดสัมพันธภาพที่ดี ควรมีการจัดอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาคุณภาพของบุคลากร ขององค์การบริหารส่วนตำบล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11176
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons