กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11181
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Thai influence the decision of guardians on sending their children to study in secondary 4 at The Princess Chulabhorn's Science High School in the Central and Eastern Regions
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
ภูริชญา อินทรพรรณ, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศศิธร บัวทอง
คำสำคัญ: การศึกษาขั้นมัธยม--การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก 2) สร้างสมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก เข้าเรียนต่อในโรงเรียนเดิม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังเลื่อนชั้นเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 297 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยไบนารีโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ปกครอง ได้แก่ ปัจจัยด้านวิชาการ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ด้านบุคลากรของโรงเรียน ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน ด้านบริการและสวัสดิการ และด้านค่าใช้จ่าย ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง พบว่า ปัจจัยด้านวิชาการเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถพยากรณ์ความถูกต้องได้ร้อยละ 87.90 3) แนวทางหลักในการส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนต่อโรงเรียนเดิม คือ การพัฒนาคุณภาพด้านวิชาการ สำหรับแนวทางเสริม ประกอบด้วย การประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ให้รอบด้านทั่วถึง การพัฒนาระบบการแนะแนวการศึกษา การจัดกิจกรรมส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไปทัศนศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมและจัดกิจกรรมการแข่งขันงานด้านสิ่งประดิษฐ์ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11181
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons