กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11194
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์เรื่อง เศษส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of mathematics learning management using heuristics problem solving thinking approach in the topic of Fractions on mathematics learning achievement and mathematics creative thinking of Mathayom Suksa I students in Si Sa Ket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก, อาจารย์ที่ปรึกษา
ต้องตา สมใจเพ็ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำเนียร เหมาะสมาน, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ศรีสะเกษ
การแก้ปัญหา--คณิตศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 คน ใน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 40 คน ของโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม แล้วจับฉลากเลือกเป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วน และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์สูงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์มีความแตกต่างกันกับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11194
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons