Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11210
Title: แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Other Titles: The guideline for English language instructional management in vocational education institutions to develop manpower for joining the ASEAN Economic Community
Authors: ศิตา เยี่ยมขันติถาวร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยมงคล พุกสุวรรณ, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน
อาชีวศึกษา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษา และ (2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ให้ข้อมูลมีทั้งหมด 29 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษา 4 คน ผู้สอนภาษาอังกฤษ 4 คน ผู้เรียนระดับ ปวส. 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาอังกฤษ 17 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ปรากฏว่า (1) สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษา ได้แก่ การใช้เนื้อหาหลักสูตรภาษาอังกฤษแกนกลางของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การจัดให้ผู้เรียนศึกษาอาชีวศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และระบบทวิภาคี สำหรับปัญหา ได้แก่ ผู้สอนขาดทักษะการสอนภาษาอังกฤษในหมวดวิชาชีพเฉพาะ การพัฒนาเนื้อหาหมวดวิชาชีพเฉพาะขาดการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ชำรุดหรือไม่เสถียรในระหว่างฝึกปฏิบัติ การวัดความรู้ทักษะทางภาษาอังกฤษไม่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และ (2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนากำลังคน เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ ผู้สอนภาษาอังกฤษควรสื่อสารได้จริง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาของหลักสูตรควรสอดคล้องกับการใช้ชีวิตจริง ผู้เรียนควรได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และควรมีการวัดความสามารถของผู้เรียนทางด้านทักษะการคิด การทำงานที่เป็นนานาชาติ และการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับบุคคลต่างๆ ได้ ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ สถาบันอาชีวศึกษาควรมีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการบูรณาการความรู้ภาษาอังกฤษกับกลุ่มสาระรายวิชาอื่นอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11210
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons